วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีและวัฒธรรม

กฐินสามัคคีวัดแสงแก้วโพธิญาณ แม่สรวย เชียงราย




ประเพณีทอดกฐิน มีการจัดทอดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังประเพณีออกพรรษา และต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า 5 รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น การทอดกฐินเป็นกาลทานตามพระวินัย กำหนดกาลไว้คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 สำหรับกฐินสามัคคีวัดแสงแก้วโพธิญาณปีนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 18-19 ตุลาคม 2557 เพื่อหาทุนสร้างหอพระแก้วไม้สัก หาทุนสร้างพระวิหารหลวง หาทุนสร้างโรงทาน และหาทุนสร้างกุฏิสงฆ์

คำว่า "กฐิน" แปลว่า "ไม้สะดึง" คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ การทำจีวรในสมัยโบราณจัดเป็นงานเอิกเกริก เช่น ตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสนาก็เสด็จลงมาช่วย การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรงเพราะเป็นกาลทาน ดังนั้นถ้าพุทธศาสนิกชนมีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐิน ก็ต้องจองกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่วๆ กัน ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้วก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐินคือ ไตรจีวรพร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่นๆ

อานิสงส์กฐิน บุญทอดกฐินนั้นเป็นบุญใหญ่ เพราะเป็นกาลทานที่จำกัดด้วยกาลเวลาทั้งเป็นสังฆทานอันบริสุทธิ์ที่ถวายแด่หมู่สงฆ์ ยิ่งถ้าได้ทุ่มเททำอย่างสุดกำลังชนิดที่เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ด้วยใจที่เลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง บุญที่เกิดขึ้นย่อมมีอานุภาพมากไม่มีประมาณ บุญนั้นย่อมส่งผลโดยเร็วพลันให้ผู้ทำมีชีวิตที่เจริญ รุ่งเรืองขึ้นในปัจจุบัน และบุญยังส่งผลต่อไปในอนาคตให้ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเลิกยากจนไปทุกชาติ ตราบวันเข้าสู่พระนิพพาน






ชุมชนในชนบทเมืองพ่อขุนฯ ร่วมใจอนุรักษ์ประเพณีล้านนา บางหมู่บ้านถือเอาวันพญาวัน หรือวันเถลิงศกเริ่มต้นจุลศักราชใหม่วันนี้ ร่วมสระเกล้าดำหัวผู้สูงอายุกันยกหมู่บ้าน 

ประเวณ ปี๋ใหม่เมือง


       
       วันนี้ (15 เม.ย.) ตามประเพณีปี๋ใหม่เมือง ถือเป็นวันพญาวันนั้น ที่บ้านป่าบง หมู่ 4 ต.แม่สรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย หมู่บ้านชนบทที่เป็นชุมชนเล็กๆ มีบ้านเรือนรวมกันประมาณ 600-700 หลังคาเรือน ได้ถือเอาฤกษ์ดีวันนี้ ร่วมกันทำพิธีสระเกล้าดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้านทั้งหมด ที่มีอยู่ 104 คน โดยเชิญบรรดาผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มารวมกัน ณ ศาลาประชาคมของหมู่บ้าน จากนั้นเปิดโอกาสให้ลูกหลานทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่ทั้งที่อยู่ในชุมชน หรือเพิ่งเดินทางกลับจากการไปทำงานในเมืองใหญ่มาเยี่ยมบ้านร่วมรดน้ำดำหัวตามประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา และส่งต่อรุ่นต่อรุ่นให้คงอยู่สืบไป 

  ซึ่งแน่นอนว่า บรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านต่างก็ถือเอาวันเถลิงศกเริ่มต้นจุลศักราชใหม่วันนี้ อวยชัยให้พรลูกหลานในชุมชน ให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอด 365 วัน
       
       ทั้งนี้ วันพญา ตามประเพณีของชาวเหนือ จะเป็นวันที่มีการทำบุญทางศาสนาตั้งแต่เวลาเช้าตรู่ โดยผู้คนจะนำเอาสำรับอาหารหวานคาวต่างๆ ไปทำบุญถวายพระตามวัด ทานขันเข้า เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ หรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วด้วย บางคนอาจนำสำรับอาหารไปมอบให้แก่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่า ทานขันเข้าฅนเถ้าฅนแก่
       
       จากนั้นจะนำตุง หรือธงซึ่งได้เตรียมไว้ไปปักบนเจดีย์ทราย โดยเชื่อว่าการทานตุง สามารถช่วยให้ผู้ตายที่มีบาปหนักถึงตกนรก พ้นจากขุมนรกได้
       




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น