วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

อำเภอแม่สรวย

อำเภอแม่สรวย



ดอยช้างสูงเด่น ร่มเย็นพระธาตุจอมแจ้ง แหล่งชาวาวี ประเพณีสูงค่า งามสง่าศาลสมเด็จฯขิงเผ็ดรสดี สตรีงามน้ำใจ ประชาธิปไตยมั่นคง

ประวัติความเป็นมา

            อำเภอแม่สรวยจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอมาตั้งแต่ ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๔) มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพายัพ ภาคเหนือ และอยู่ในบริเวณเมืองเชียงใหม่ ตำนานกล่าวว่า ชื่อของอำเภอมาจากชื่อของแม่น้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้านและตำบลที่ตั้งของอำเภอ เดิมที่เรียกว่า “แม่ซ่วย” ซึ่ง “ซ่วย” เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง “ล้าง” ต่อมาเรียกชื่อเป็น “แม่สรวย” เดิมที่ว่าการอำเภอแม่สรวย อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของดอยจอมแจ้ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมแจ้งในเขตตำบลแม่สรวยซึ่งมีแม่น้ำแม่สรวยไหลผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอและได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไป อยู่บริเวณหน้าวัดแม่พริก ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๔๗ ได้มีหลวงดำรงฯ นายแขวงในขณะนั้นเห็นว่าที่ตั้งของที่ว่าการอำเภออยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม และไม่สะดวกแก่ราษฎรในการติดต่อราชการประกอบกับในฤดูแล้งน้ำในลำห้วยแม่พริก แห้งขอดไม่พอใช้สอยในการเกษตร และการบริโภคจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลแม่พริก มาอยู่ที่บ้านแม่สรวย ตำบลแม่สรวย ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สรวยในปัจจุบัน
          เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๔ โดยมีประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้รวมเมือง เชียงแสน เมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย เมืองเชียงคำ เมืองเทิง เมืองเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า “เมืองเชียงราย” อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๖ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ แม่สรวยจึงมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ที่ตั้ง



         
อำเภอแม่สรวยตั้งอยู่ถนนเชียงราย-เชียงใหม่ ในบริเวณตำบลแม่สรวย ซึ่งอยู่ห่างจังหวัดเชียงรายไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และป่าไม้ มีที่ราบระหว่างภูเขา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ ๔๓๗ เมตร



อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอแม่ลาว และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอไชยปราการ และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่


สภาพภูมิประเทศ

   อำเภอแม่สรวยมีพื้นที่ทั้งหมด ๘๙๒,๘๘๒ ไร่
พื้นที่ราบ ๘๙,๓๓๑ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๙.๕๕ ของพื้นที่ทั้งหมด
ภูเขา ๗๙๙,๒๑๗ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๙๙ ของพื้นที่ทั้งหมด
พื้นน้ำ ๔,๓๓๔ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๐.๔๖ ของพื้นที่ทั้งหมด 

สภาพภูมิอากาศ

อำเภอแม่สรวยได้รับอิทธิพลจากลมทะเลน้อยมาก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ จึงทำให้อุณหภูมิและฤดูกาลแตกต่างกันมาก ดังนี้
-ฤดูหนาว
          ฤดูหนาวของอำเภอแม่สรวย เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ เมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ประเทศไทย หรือมีบริเวณความกดอากาศสูง   หรือมีอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยรวมระยะเวลานานประมาณ ๔ เดือน เป็นระยะเวลาเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่มาปกคลุมประเทศไทยเป็นระยะ ๆ ทำให้บริเวณอำเภอแม่สรวยมีอากาศหนาวจัด โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขา ในเดือนกุมภาพันธ์ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงเป็นลำดับทำให้บริเวณอำเภอแม่สรวยมีอุณหภูมิสูงขึ้น และมีอากาศร้อนในตอนบ่าย ซึ่งเป็นการสิ้นสุดฤดูหนาวในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ และเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนต่อไปแต่ยังมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าต่อไปในระยะหนึ่ง
-ฤดูร้อน
          ฤดูร้อนของอำเภอแม่สรวยเริ่มระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมอุณหภูมิสูง สุดในตอนบ่ายจะเริ่มขึ้นเกิน ๓๕.๐ องศาเซลเซียส แต่ในช่วงเช้าจะยังคงมีอากาศหนาวเย็นจนถึงประมาณเดือนมีนาคมลมที่พัดจาก ประเทศไทยเปลี่ยนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมฝ่ายตะวันออก และลมฝ่ายใต้มากขึ้นโดยมีลมจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดเข้าสู่ประเทศไทยใน ทางทิศใต้ และตะวันออก ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อนปกคุมประเทศไทยตอนบนในช่วงฤดูร้อนทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าว และแห้งแล้งทั่วไป และอาจเกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ในบางวัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน
-ฤดูฝน
           ฤดูฝนของอำเภอแม่สรวยเริ่มระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทยและร่องความกดอากาศต่ำเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทย และจะไปสิ้นประมาณกลางเดือนตุลาคม เป็นระยะเวลานานประมาณ ๕ เดือน จะมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคมและกันยายน ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะอ่อนกำลัง และจะเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนจะลดน้อยลงเป็นลำดับ



การปกครอง

แบ่งการปกครองเป็น ๗ ตำบล ๑๒๕ หมู่บ้าน   เทศบาลตำบล ๒ แห่ง คือ
       ๑. เทศบาลตำบลแม่สรวย จำนวน ๒ หมู่บ้าน
       ๒. เทศบาลตำบลเจดีย์หลวง จำนวน ๗ หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบล ๗ แห่ง คือ
       ๑. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สรวย จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน
       ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน
       ๓. องค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน
       ๔. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ จำนวน ๒๗ หมู่บ้าน
       ๕. องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี จำนวน ๒๕ หมู่บ้าน
       ๖. องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หลวง จำนวน ๔ หมู่บ้าน
       ๗. องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดด จำนวน ๒๒ หมู่บ้าน
ประชากร

ประชากร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ รวมทั้งสิ้น ๗๘,๘๙๐ คน เป็นชาย ๔๐,๓๒๒ คน หญิง ๓๘,๕๖๘ คน สำหรับตำบลที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่
ตำบลวาวีมีจำนวน ๒๑,๒๐๙ คน     ชนเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย ได้แก่ ๑. อีก้อ (อาข่า) ๒. มูเซอ (ลาหู่) ๓. ลีซอ (ลีซู) ๔. จีนฮ่อ ๕. กะเหรี่ยง ๖. ไทยพื้นราบ ๗. ไทยใหญ่ ๘. ไทยลื้อ จากสภาพดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้สภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของประชากรในอำเภอแม่สรวย มีความหลากหลายและแตกต่างกันเป็นอันมาก

ข้อมูลการเลือกตั้ง

๑.   จำนวน เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงรายเขต ๓ ร่วมกับ อำเภอเวียงป่าเป้า และตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๑ คน
๒.   จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ๒ เขต ๆ ละ ๑ คน
       เขตเลือกตั้งที่ ๑ ตำบลแม่สรวย ตำบลวาวี ตำบลแม่พริก
       เขตเลือกตั้งที่ ๒ ตำบลป่าแดด ตำบลศรีถ้อย ตำบลเจดีย์หลวง ตำบลท่าก๊อ
๓.  จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ๓๘,๗๖๕ คน ( ข้อมูลการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๗ )

สภาพสังคม

สถิติอาชญากรรมยาเสพติด
     
๑. อาชญากรรรมเฉลี่ยเดือนละ ๑ - ๒ คดี
     
๒. คดียาเสพติดเฉลี่ยเดือนละ ๑๕ -๒๐ คดี
     
๓. คดีเกี่ยวกับการจาราจรเฉลี่ยเดือนละ ๕ คดี
     
๔. คดีอื่น ๆ เฉลี่ยเดือนละ ๕ – ๑๐ คดี

สภาพเศรษฐกิจ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจของอำเภอแม่สรวย จะขึ้นอยู่กับผลผลิตทางการเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวนพืชที่ปลูก เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ข้าวโพด มะเขือเทศ ขิง
กะหล่ำปลี ชา กาแฟ ผลไม้เมืองหนาว ไม้ดอก ไม้ประดับ ยาสูบ เป็นต้น ส่วนการเลี้ยงสัตว์มีเล็กน้อย เช่น เป็ด ไก่ สุกร โค กระบือ เป็นต้น รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน ประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาท/ปี

ข้อมูลสถานศึกษา
๑.โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๕๔ โรงเรียน
        ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวน ๒ โรงเรียน
        ระดับอนุบาล ๑ - มัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๑ โรงเรียน
        ระดับประถมศึกษา ๑ - ๖ จำนวน ๔๑ โรงเรียน
        โรงเรียนเอกชนระดับอนุบาล๑ - ๓ จำนวน ๑ โรงเรียน
        โรงเรียนเอกชนระดับอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑ โรงเรียน
๒.    ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน ๒๗ แห่ง
๓.    โรงเรียนสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงเรียน ตชด.ดอยล้าน เปิดสอนระดับ อนุบาล – ประถมศึกษา ๖


ข้อมูลการสาธารณสุข
     
     ๑. โรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง ๑ แห่ง
     ๒. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ๑ แห่ง
     ๓. สถานีอนามัยประจำตำบลและหมู่บ้าน ๑๑ แห่ง
     ๔. หน่วยควบคุมโรคนำโดยแมลง ๑ แห่ง
     ๕. โรงกรองน้ำปะปาเทศบาลแม่สรวย ๑ แห่ง




ข้อมูลด้านศาสนา


ราษฎรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ นิกายหินยาน และนอกจากนั้นยังนับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ บ้างเล็กน้อย โดยแบ่งแยกตามศาสนสถาน ได้ดังนี้
     ศาสนาพุทธ
     จำนวนวัด มีทั้งหมด ๔๙ แห่ง
     วิสุงคามสีมา ๑๙ แห่ง
     ที่พักสงฆ์ ๒๐ แห่ง
     จำนวนพระสงฆ์ ๖๔ รูป
     จำนวนสามเณร ๑๑๕ รูป
     ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
     ๑. ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดเจดีย์หลวง
     ๒. ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดทุ่งฟ้าผ่า

อ้างอิงจาก :https://sites.google.com/site/land4salesinmaesuay/khxmul-xaphex-maesrwy-canghwad-cheiyngray

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น