วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

อำเภอแม่สรวย

อำเภอแม่สรวย



ดอยช้างสูงเด่น ร่มเย็นพระธาตุจอมแจ้ง แหล่งชาวาวี ประเพณีสูงค่า งามสง่าศาลสมเด็จฯขิงเผ็ดรสดี สตรีงามน้ำใจ ประชาธิปไตยมั่นคง

ประวัติความเป็นมา

            อำเภอแม่สรวยจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอมาตั้งแต่ ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๔) มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพายัพ ภาคเหนือ และอยู่ในบริเวณเมืองเชียงใหม่ ตำนานกล่าวว่า ชื่อของอำเภอมาจากชื่อของแม่น้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้านและตำบลที่ตั้งของอำเภอ เดิมที่เรียกว่า “แม่ซ่วย” ซึ่ง “ซ่วย” เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง “ล้าง” ต่อมาเรียกชื่อเป็น “แม่สรวย” เดิมที่ว่าการอำเภอแม่สรวย อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของดอยจอมแจ้ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมแจ้งในเขตตำบลแม่สรวยซึ่งมีแม่น้ำแม่สรวยไหลผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอและได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไป อยู่บริเวณหน้าวัดแม่พริก ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๔๗ ได้มีหลวงดำรงฯ นายแขวงในขณะนั้นเห็นว่าที่ตั้งของที่ว่าการอำเภออยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม และไม่สะดวกแก่ราษฎรในการติดต่อราชการประกอบกับในฤดูแล้งน้ำในลำห้วยแม่พริก แห้งขอดไม่พอใช้สอยในการเกษตร และการบริโภคจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลแม่พริก มาอยู่ที่บ้านแม่สรวย ตำบลแม่สรวย ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สรวยในปัจจุบัน
          เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๔ โดยมีประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้รวมเมือง เชียงแสน เมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย เมืองเชียงคำ เมืองเทิง เมืองเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า “เมืองเชียงราย” อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๖ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ แม่สรวยจึงมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ที่ตั้ง



         
อำเภอแม่สรวยตั้งอยู่ถนนเชียงราย-เชียงใหม่ ในบริเวณตำบลแม่สรวย ซึ่งอยู่ห่างจังหวัดเชียงรายไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และป่าไม้ มีที่ราบระหว่างภูเขา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ ๔๓๗ เมตร



อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอแม่ลาว และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอไชยปราการ และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่


สภาพภูมิประเทศ

   อำเภอแม่สรวยมีพื้นที่ทั้งหมด ๘๙๒,๘๘๒ ไร่
พื้นที่ราบ ๘๙,๓๓๑ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๙.๕๕ ของพื้นที่ทั้งหมด
ภูเขา ๗๙๙,๒๑๗ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๙๙ ของพื้นที่ทั้งหมด
พื้นน้ำ ๔,๓๓๔ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๐.๔๖ ของพื้นที่ทั้งหมด 

สภาพภูมิอากาศ

อำเภอแม่สรวยได้รับอิทธิพลจากลมทะเลน้อยมาก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ จึงทำให้อุณหภูมิและฤดูกาลแตกต่างกันมาก ดังนี้
-ฤดูหนาว
          ฤดูหนาวของอำเภอแม่สรวย เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ เมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ประเทศไทย หรือมีบริเวณความกดอากาศสูง   หรือมีอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยรวมระยะเวลานานประมาณ ๔ เดือน เป็นระยะเวลาเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่มาปกคลุมประเทศไทยเป็นระยะ ๆ ทำให้บริเวณอำเภอแม่สรวยมีอากาศหนาวจัด โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขา ในเดือนกุมภาพันธ์ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงเป็นลำดับทำให้บริเวณอำเภอแม่สรวยมีอุณหภูมิสูงขึ้น และมีอากาศร้อนในตอนบ่าย ซึ่งเป็นการสิ้นสุดฤดูหนาวในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ และเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนต่อไปแต่ยังมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าต่อไปในระยะหนึ่ง
-ฤดูร้อน
          ฤดูร้อนของอำเภอแม่สรวยเริ่มระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมอุณหภูมิสูง สุดในตอนบ่ายจะเริ่มขึ้นเกิน ๓๕.๐ องศาเซลเซียส แต่ในช่วงเช้าจะยังคงมีอากาศหนาวเย็นจนถึงประมาณเดือนมีนาคมลมที่พัดจาก ประเทศไทยเปลี่ยนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมฝ่ายตะวันออก และลมฝ่ายใต้มากขึ้นโดยมีลมจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดเข้าสู่ประเทศไทยใน ทางทิศใต้ และตะวันออก ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อนปกคุมประเทศไทยตอนบนในช่วงฤดูร้อนทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าว และแห้งแล้งทั่วไป และอาจเกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ในบางวัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน
-ฤดูฝน
           ฤดูฝนของอำเภอแม่สรวยเริ่มระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทยและร่องความกดอากาศต่ำเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทย และจะไปสิ้นประมาณกลางเดือนตุลาคม เป็นระยะเวลานานประมาณ ๕ เดือน จะมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคมและกันยายน ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะอ่อนกำลัง และจะเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนจะลดน้อยลงเป็นลำดับ



การปกครอง

แบ่งการปกครองเป็น ๗ ตำบล ๑๒๕ หมู่บ้าน   เทศบาลตำบล ๒ แห่ง คือ
       ๑. เทศบาลตำบลแม่สรวย จำนวน ๒ หมู่บ้าน
       ๒. เทศบาลตำบลเจดีย์หลวง จำนวน ๗ หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบล ๗ แห่ง คือ
       ๑. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สรวย จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน
       ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน
       ๓. องค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน
       ๔. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ จำนวน ๒๗ หมู่บ้าน
       ๕. องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี จำนวน ๒๕ หมู่บ้าน
       ๖. องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หลวง จำนวน ๔ หมู่บ้าน
       ๗. องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดด จำนวน ๒๒ หมู่บ้าน
ประชากร

ประชากร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ รวมทั้งสิ้น ๗๘,๘๙๐ คน เป็นชาย ๔๐,๓๒๒ คน หญิง ๓๘,๕๖๘ คน สำหรับตำบลที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่
ตำบลวาวีมีจำนวน ๒๑,๒๐๙ คน     ชนเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย ได้แก่ ๑. อีก้อ (อาข่า) ๒. มูเซอ (ลาหู่) ๓. ลีซอ (ลีซู) ๔. จีนฮ่อ ๕. กะเหรี่ยง ๖. ไทยพื้นราบ ๗. ไทยใหญ่ ๘. ไทยลื้อ จากสภาพดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้สภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของประชากรในอำเภอแม่สรวย มีความหลากหลายและแตกต่างกันเป็นอันมาก

ข้อมูลการเลือกตั้ง

๑.   จำนวน เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงรายเขต ๓ ร่วมกับ อำเภอเวียงป่าเป้า และตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๑ คน
๒.   จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ๒ เขต ๆ ละ ๑ คน
       เขตเลือกตั้งที่ ๑ ตำบลแม่สรวย ตำบลวาวี ตำบลแม่พริก
       เขตเลือกตั้งที่ ๒ ตำบลป่าแดด ตำบลศรีถ้อย ตำบลเจดีย์หลวง ตำบลท่าก๊อ
๓.  จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ๓๘,๗๖๕ คน ( ข้อมูลการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๗ )

สภาพสังคม

สถิติอาชญากรรมยาเสพติด
     
๑. อาชญากรรรมเฉลี่ยเดือนละ ๑ - ๒ คดี
     
๒. คดียาเสพติดเฉลี่ยเดือนละ ๑๕ -๒๐ คดี
     
๓. คดีเกี่ยวกับการจาราจรเฉลี่ยเดือนละ ๕ คดี
     
๔. คดีอื่น ๆ เฉลี่ยเดือนละ ๕ – ๑๐ คดี

สภาพเศรษฐกิจ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจของอำเภอแม่สรวย จะขึ้นอยู่กับผลผลิตทางการเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวนพืชที่ปลูก เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ข้าวโพด มะเขือเทศ ขิง
กะหล่ำปลี ชา กาแฟ ผลไม้เมืองหนาว ไม้ดอก ไม้ประดับ ยาสูบ เป็นต้น ส่วนการเลี้ยงสัตว์มีเล็กน้อย เช่น เป็ด ไก่ สุกร โค กระบือ เป็นต้น รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน ประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาท/ปี

ข้อมูลสถานศึกษา
๑.โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๕๔ โรงเรียน
        ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวน ๒ โรงเรียน
        ระดับอนุบาล ๑ - มัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๑ โรงเรียน
        ระดับประถมศึกษา ๑ - ๖ จำนวน ๔๑ โรงเรียน
        โรงเรียนเอกชนระดับอนุบาล๑ - ๓ จำนวน ๑ โรงเรียน
        โรงเรียนเอกชนระดับอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑ โรงเรียน
๒.    ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน ๒๗ แห่ง
๓.    โรงเรียนสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงเรียน ตชด.ดอยล้าน เปิดสอนระดับ อนุบาล – ประถมศึกษา ๖


ข้อมูลการสาธารณสุข
     
     ๑. โรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง ๑ แห่ง
     ๒. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ๑ แห่ง
     ๓. สถานีอนามัยประจำตำบลและหมู่บ้าน ๑๑ แห่ง
     ๔. หน่วยควบคุมโรคนำโดยแมลง ๑ แห่ง
     ๕. โรงกรองน้ำปะปาเทศบาลแม่สรวย ๑ แห่ง




ข้อมูลด้านศาสนา


ราษฎรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ นิกายหินยาน และนอกจากนั้นยังนับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ บ้างเล็กน้อย โดยแบ่งแยกตามศาสนสถาน ได้ดังนี้
     ศาสนาพุทธ
     จำนวนวัด มีทั้งหมด ๔๙ แห่ง
     วิสุงคามสีมา ๑๙ แห่ง
     ที่พักสงฆ์ ๒๐ แห่ง
     จำนวนพระสงฆ์ ๖๔ รูป
     จำนวนสามเณร ๑๑๕ รูป
     ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
     ๑. ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดเจดีย์หลวง
     ๒. ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดทุ่งฟ้าผ่า

อ้างอิงจาก :https://sites.google.com/site/land4salesinmaesuay/khxmul-xaphex-maesrwy-canghwad-cheiyngray

อาหารพื้นเมือง

  
อาหารพื้นเมืองแม่สรวย 

มีหลากหลายประเภท  ทั้ง แกง, ผัด, คั่ว, จอ, นึ่ง, ลาบ, น้ำพริก, แอ๊บ, ขนม เป็นต้น 
              แกง เป็นอาหารประเภทน้ำ ที่มีปริมาณน้ำแกงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับส่วนประกอบต่างๆ ในหม้อ มีวิธีการทำ โดยใส่น้ำ พอเดือด ใส่เครื่องปรุง แล้วใส่ส่วนประกอบหลักที่ต้องการแกงตามลำดับ บางสูตร นิยมคั่วเครื่องแกงกับน้ำมันเล็กน้อย จนเครื่องแกงและส่วนผสมอื่น เช่น หมู ไก่ จนมีกลิ่นหอมก่อน จึงจะเติมน้ำลงไป และจึงใส่เครื่องปรุงอื่นๆ ตามไป เมื่อน้ำเดือด หรือเมื่อหมู หรือไก่ได้ที่แล้ว เครื่องปรุงหลัก ได้แก่ พริก หอมแดง กระเทียม ปลาร้า กะปิ ถ้าเป็นแกงที่มีเนื้อสัตว์ เป็นเครื่องปรุงด้วย จะใส่ตะไคร้ ขมิ้น เพื่อดับกลิ่นคาว  แกงพื้นบ้านของอำเภอเชียงคำ  เช่น    แกงโฮ๊ะ  แกงคั่ว  แกงส้มปลา  แกงอ่อม  แกงสะแล  แกงผักเฮือด  แกงกระด้าง  แกงปลี  แกงผักกาด  แกงแค  แกงตูน  แกงชะอม  แกงขนุน  แกงบอน  แกงผักหวาน  แกงหน่อไม้  แกงหยวก  แกงเห็ด  ข้าวแรมฟืน  จอผักกาด เป็นต้น

จอผักกาด


แกงกระด้าง
แกงขนุน


แกงบอน


ยำเตา


แกงผักหวานใส่ไข่แมงมัน


แกงผักหละ


แกงหน่อไม้


แกงแค


แกงสะเเล
    น้ำพริก เป็นอาหารหรือเครื่องปรุงชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบหลัก คือ พริก เกลือ หอม กระเทียม เป็นต้น อาจมีส่วนผสมอื่นๆ เช่น กะปิ ถั่วเน่าแข็บ ปลาร้า มะเขือเทศ ข่า ตะไคร้ เพิ่มเข้าไป แล้วแต่จะปรุงเป็นน้ำพริกแต่ละชนิด วิธีการปรุง จะนำส่วนผสมทั้งหมดมาโขลกรวมกันในครก เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกบ น้ำพริกปลา น้ำพริกพื้นบ้านของอำเภอเชียงคำ  เช่น น้ำพริกอ่อง  น้ำพริกแคบหมู  น้ำพริกหนุ่ม  น้ำพริกน้ำปู เป็นต้น 

แอ๊บถั่วเน่า

น้ำพริกจี้กุ่ง

น้ำพริกอ่อง

น้ำพริกน้ำปู

น้ำพริกน้ำผัก

น้ำพริกหนุ่มแคบหมู




วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีและวัฒธรรม

กฐินสามัคคีวัดแสงแก้วโพธิญาณ แม่สรวย เชียงราย




ประเพณีทอดกฐิน มีการจัดทอดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังประเพณีออกพรรษา และต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า 5 รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น การทอดกฐินเป็นกาลทานตามพระวินัย กำหนดกาลไว้คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 สำหรับกฐินสามัคคีวัดแสงแก้วโพธิญาณปีนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 18-19 ตุลาคม 2557 เพื่อหาทุนสร้างหอพระแก้วไม้สัก หาทุนสร้างพระวิหารหลวง หาทุนสร้างโรงทาน และหาทุนสร้างกุฏิสงฆ์

คำว่า "กฐิน" แปลว่า "ไม้สะดึง" คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ การทำจีวรในสมัยโบราณจัดเป็นงานเอิกเกริก เช่น ตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสนาก็เสด็จลงมาช่วย การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรงเพราะเป็นกาลทาน ดังนั้นถ้าพุทธศาสนิกชนมีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐิน ก็ต้องจองกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่วๆ กัน ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้วก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐินคือ ไตรจีวรพร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่นๆ

อานิสงส์กฐิน บุญทอดกฐินนั้นเป็นบุญใหญ่ เพราะเป็นกาลทานที่จำกัดด้วยกาลเวลาทั้งเป็นสังฆทานอันบริสุทธิ์ที่ถวายแด่หมู่สงฆ์ ยิ่งถ้าได้ทุ่มเททำอย่างสุดกำลังชนิดที่เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ด้วยใจที่เลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง บุญที่เกิดขึ้นย่อมมีอานุภาพมากไม่มีประมาณ บุญนั้นย่อมส่งผลโดยเร็วพลันให้ผู้ทำมีชีวิตที่เจริญ รุ่งเรืองขึ้นในปัจจุบัน และบุญยังส่งผลต่อไปในอนาคตให้ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเลิกยากจนไปทุกชาติ ตราบวันเข้าสู่พระนิพพาน






ชุมชนในชนบทเมืองพ่อขุนฯ ร่วมใจอนุรักษ์ประเพณีล้านนา บางหมู่บ้านถือเอาวันพญาวัน หรือวันเถลิงศกเริ่มต้นจุลศักราชใหม่วันนี้ ร่วมสระเกล้าดำหัวผู้สูงอายุกันยกหมู่บ้าน 

ประเวณ ปี๋ใหม่เมือง


       
       วันนี้ (15 เม.ย.) ตามประเพณีปี๋ใหม่เมือง ถือเป็นวันพญาวันนั้น ที่บ้านป่าบง หมู่ 4 ต.แม่สรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย หมู่บ้านชนบทที่เป็นชุมชนเล็กๆ มีบ้านเรือนรวมกันประมาณ 600-700 หลังคาเรือน ได้ถือเอาฤกษ์ดีวันนี้ ร่วมกันทำพิธีสระเกล้าดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้านทั้งหมด ที่มีอยู่ 104 คน โดยเชิญบรรดาผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มารวมกัน ณ ศาลาประชาคมของหมู่บ้าน จากนั้นเปิดโอกาสให้ลูกหลานทั้งเด็ก-ผู้ใหญ่ทั้งที่อยู่ในชุมชน หรือเพิ่งเดินทางกลับจากการไปทำงานในเมืองใหญ่มาเยี่ยมบ้านร่วมรดน้ำดำหัวตามประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา และส่งต่อรุ่นต่อรุ่นให้คงอยู่สืบไป 

  ซึ่งแน่นอนว่า บรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านต่างก็ถือเอาวันเถลิงศกเริ่มต้นจุลศักราชใหม่วันนี้ อวยชัยให้พรลูกหลานในชุมชน ให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอด 365 วัน
       
       ทั้งนี้ วันพญา ตามประเพณีของชาวเหนือ จะเป็นวันที่มีการทำบุญทางศาสนาตั้งแต่เวลาเช้าตรู่ โดยผู้คนจะนำเอาสำรับอาหารหวานคาวต่างๆ ไปทำบุญถวายพระตามวัด ทานขันเข้า เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ หรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วด้วย บางคนอาจนำสำรับอาหารไปมอบให้แก่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่า ทานขันเข้าฅนเถ้าฅนแก่
       
       จากนั้นจะนำตุง หรือธงซึ่งได้เตรียมไว้ไปปักบนเจดีย์ทราย โดยเชื่อว่าการทานตุง สามารถช่วยให้ผู้ตายที่มีบาปหนักถึงตกนรก พ้นจากขุมนรกได้
       




เขื่อนแม่สรวย










ภูน้ำสรวย...เขื่อนแม่สรวย เชียงราย

ภูน้ำสรวย....หรือจะเรียกอีกชื่อว่า "เขื่อนแม่สรวย" สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2541 โดยทางสำนักงานชลประทานแม่สรวย ได้ก่อสร้างเขื่อนแม่สรวยขึ้นที่ช่องเขาด้านทิศเหนือของยอดเขาแห่งนี้ ตั้งอยู่หมู่ 14 บ้านเด่นภูเวียง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นอ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่สวยงามโดยมีภูเขาล้อมรอบกักเก็บน้ำจากลำน้ำสรวยผันน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรม และอยู่ในเขตดูแลรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานแม่สรวย 


ภายในอ่างเก็บน้ำแม่สรวยจะมีร้านอาหาร ร้านกาแฟกับมุมสวย บรรยากาศดี ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว หรือจะเช่าแพล่องเรือชมวิวของอ่างเก็บน้ำแม่สรวยใช้เป็นที่สังสรรค์กับเพื่อนๆได้ ภูน้ำสรวยอยู่ห่างจากอำเภอแม่สรวย 7 กิโลเมตร ใช้เส้นทางที่จะไปดอยวาวี ดอยช้าง เข้าที่บ้านตีนดอย ถนนได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ดีมาก 

ภูน้ำสรวย ได้ปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอแม่สรวยขึ้นมาใหม่ ที่นี่มีของเล่นหลากหลายให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเหมาะกับสภาพอากาศในหน้าร้อน เช่น เรือบานาน่าโบ๊ท เรือแคนู เจ๊ทสกี โซฟา ซอฟท์บอล 


บริเวณภายในเขื่อนแม่สรวยจะเป็นที่ตั้งของพระมหาเจดีย์พระบรมธาตุคุ้มเวียงสรวยเป็นอีกหนึ่งในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาของอำเภอแม่สรวย กับตำนานจ๊างปู๊เอกงาเดียวช้างศึกของพ่อขุนทัพคุ้มเวียงสรวย ขับรถขึ้นไปเที่ยวได้ ถนนชันนิดหนึ่ง มีโอกาสมาเที่ยวภูน้ำสรวย อย่าลืมขึ้นไปสักการะกราบไหว้ได้
พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุคุ้มเวียงสรวย

พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุ คุ้มเวียงสรวย




พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุ "คุ้มเวียงสรวย" แต่เดิมเคยเป็นเพียงกองก้อนอิฐมอญขนาดใหญ่ กองสุมรวมกันเป็นฐานสี่เหลี่ยม อันเป็นซากปรักหักพังของฐานพระเจดีย์เก่าแก่ ตั้งอยู่ท้ายหมู่บ้านทางทิศตะวันตกของบ้าน หมู่ที่ 2ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และสถานที่แห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ทางพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งของญาติโยมสาธุชนในท้องถิ่น ซึ่งเคารพนับถือสืบทอดต่อกันมาหลายช่วงอายุคน ผู้คนในท้องถิ่นเรียกขานกันว่า "แป๋ฝายน้อย" (คำว่า "แป่" แปลว่า ยอดเขา หรือยอดดอย)ส่วนฐานของพระเจดีย์เก่าแก่ที่ตั้งบนยอดเขานี้ ผู้คนเรียกขานกันว่า "กู่ฝายน้อย" (คำว่า "กู่" แปลว่า เจดีย์)

ในปี พ.ศ 2544พระอาจารย์สุกรี สุเมโธ (ตุ๊เจ้าถ้ำ)จึงได้มีดำริความคิดริเริ่มในการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ฯ นี้ขึ้นมา เพื่อให้เป็นปูชนียะสถานและเพื่อการจรรโลงในการเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงถาวรของพระพุทธศาสนา ซึ่งได้รับสังฆานุญาตจากคณะสงฆ์ นำโดยท่านพระครูสุนทรศิลปาคม เจ้าคณะตำบลแม่สรวย และได้รับความเมตตาอนุเคราะห์อุปถัมภ์ให้ความเอื้อเฟื้อในการใช้สถานที่บนยอดเขาแห่งนี้จากสำนักงานชลประทานแม่สรวย

ดังนั้นการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระมหาเจดีย์ฯ จึงเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1กรกฏาคม พ.ศ. 2544 ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ใต้ 10 เหนือ เป็นต้นมา และได้มีการกำหนดงานพิธีในการวางศิลาฤกษ์ของคณะสงฆ์ ในวันอาทิตย์ที่ 18  พฤศจิกายน พ.ศ.2544 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 1 ใต้ 3 เหนือ หลังจากนั้นจึงได้มีการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ฯ ต่อเนื่องมาจวบจนเสร็จบริบูรณ์

ปัจจจุบันนี้ พระมหาเจดีย์พระบรมฐาตุ คุ้มเวียงสรวย ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 14 บ้านเด่นภูเวียง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เนื่องเพราะในปี พ.ศ.2545ข้าราชการฝ่ายปกครองพลเรือน อำเภอแม่สรวย ได้ทำการแบ่งแยก บ้านหมู่ที่ 2 ให้เป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 14 โดยถือเอาลำน้ำแม่สรวยเป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยก และในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2550 คณะสงฆ์ของอำเภอแม่สรวย ได้รับพระเมตตากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อันเป็นประมุขสงฆ์แห่งประเทศไทย ประทานองค์พระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำนวน 9 องค์ ..เพื่ออัญเชิญประดิษฐานบรรจุไว้ ณ ยอดพระมหาเจดีย์ และประทานเลื่อนระดับชั้นให้เป็น "พระมหาเจดีย์" โดยประทานเปลี่ยนชื่อใหม่จากชื่อเดิม คือ "พระธาตุคุ้มเวียงสรวย" มาเป็น "พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุ คุ้มเวียงสรวย" โดยท่านพระครูสุนทรศิลปาคม เจ้าคณะตำบลแม่สรวย เป็นผู้สนองรับการประทานในพระเมตตากรุณาธิคุณ (อ้างอิงโดยหนังสือพระสังฆฏีกาการประทานองค์พระบรมสารีริกธาตุจากสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานครที่  148/2550 ลง ณ วันที่ 28 มกราคม 2550)

นับเป็นขวัญ กำลังใจ และเป็นที่ปลื้มปิติของญาติโยมสาธุชนในท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุ คุ้มเวียงสรวย นับเป็นอีกหนึ่งในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาของอำเภอแม่สรวย อันควรแก่การเคารพกราบไหว้ และสักการะบูชาของญาติโยมสาธุชนในท้องถิ่นและพุทธศาสนิกชนต่างถิ่น ที่เดินทางมาแสวงบุญและมาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สรวย ตั้งแต่ปัจจุบันจวบจนถึงอนาคต ตราบชั่วกาลนาน....





พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุ คุ้มเวียงสรวยประวัติและความเป็นมาในการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุ "คุ้มเวียงสรวย"
                พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุ "คุ้มเวียงสรวย" แต่เดิมเคยเป็นเพียงกองก้อนอิฐมอญขนาดใหญ่ กองสุมรวมกันเป็นฐานสี่เหลี่ยม อันเป็นซากปรักหักพังของฐานพระเจดีย์เก่าแก่ ตั้งอยู่ท้ายหมู่บ้านทางทิศตะวันตกของบ้าน หมู่ที่ 2ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และสถานที่แห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ทางพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งของญาติโยมสาธุชนในท้องถิ่น ซึ่งเคารพนับถือสืบทอดต่อกันมาหลายช่วงอายุคน ผู้คนในท้องถิ่นเรียกขานกันว่า "แป๋ฝายน้อย" (คำว่า "แป่" แปลว่า ยอดเขา หรือยอดดอย)ส่วนฐานของพระเจดีย์เก่าแก่ที่ตั้งบนยอดเขานี้ ผู้คนเรียกขานกันว่า "กู่ฝายน้อย" (คำว่า "กู่" แปลว่า เจดีย์)
                ในปี พ.ศ 2544พระอาจารย์สุกรี สุเมโธ (ตุ๊เจ้าถ้ำ)จึงได้มีดำริความคิดริเริ่มในการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ฯ นี้ขึ้นมา เพื่อให้เป็นปูชนียะสถานและเพื่อการจรรโลงในการเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงถาวรของพระพุทธศาสนา ซึ่งได้รับสังฆานุญาตจากคณะสงฆ์ นำโดยท่านพระครูสุนทรศิลปาคม เจ้าคณะตำบลแม่สรวย และได้รับความเมตตาอนุเคราะห์อุปถัมภ์ให้ความเอื้อเฟื้อในการใช้สถานที่บนยอดเขาแห่งนี้จากสำนักงานชลประทานแม่สรวย
                ดังนั้นการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระมหาเจดีย์ฯ จึงเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1กรกฏาคม พ.ศ. 2544 ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ใต้ 10 เหนือ เป็นต้นมา และได้มีการกำหนดงานพิธีในการวางศิลาฤกษ์ของคณะสงฆ์ ในวันอาทิตย์ที่ 18  พฤศจิกายน พ.ศ.2544 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 1 ใต้ 3 เหนือ หลังจากนั้นจึงได้มีการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ฯ ต่อเนื่องมาจวบจนเสร็จบริบูรณ์
                ปัจจจุบันนี้ พระมหาเจดีย์พระบรมฐาตุ คุ้มเวียงสรวย ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 14 บ้านเด่นภูเวียง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เนื่องเพราะในปี พ.ศ.2545ข้าราชการฝ่ายปกครองพลเรือน อำเภอแม่สรวย ได้ทำการแบ่งแยก บ้านหมู่ที่ 2 ให้เป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 14 โดยถือเอาลำน้ำแม่สรวยเป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยก และในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2550 คณะสงฆ์ของอำเภอแม่สรวย ได้รับพระเมตตากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อันเป็นประมุขสงฆ์แห่งประเทศไทย ประทานองค์พระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำนวน 9 องค์ ..เพื่ออัญเชิญประดิษฐานบรรจุไว้ ณ ยอดพระมหาเจดีย์ และประทานเลื่อนระดับชั้นให้เป็น "พระมหาเจดีย์" โดยประทานเปลี่ยนชื่อใหม่จากชื่อเดิม คือ "พระธาตุคุ้มเวียงสรวย" มาเป็น "พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุ คุ้มเวียงสรวย" โดยท่านพระครูสุนทรศิลปาคม เจ้าคณะตำบลแม่สรวย เป็นผู้สนองรับการประทานในพระเมตตากรุณาธิคุณ (อ้างอิงโดยหนังสือพระสังฆฏีกาการประทานองค์พระบรมสารีริกธาตุจากสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานครที่  148/2550 ลง ณ วันที่ 28 มกราคม 2550)

                นับเป็นขวัญ กำลังใจ และเป็นที่ปลื้มปิติของญาติโยมสาธุชนในท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง พระมหาเจดีย์พระบรมธาตุ คุ้มเวียงสรวย นับเป็นอีกหนึ่งในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาของอำเภอแม่สรวย อันควรแก่การเคารพกราบไหว้ และสักการะบูชาของญาติโยมสาธุชนในท้องถิ่นและพุทธศาสนิกชนต่างถิ่น ที่เดินทางมาแสวงบุญและมาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สรวย ตั้งแต่ปัจจุบันจวบจนถึงอนาคต ตราบชั่วกาลนาน